Article

ตรวจมะเร็ง Pre-Cancer Screening

ตรวจมะเร็ง Pre-Cancer Screening

ตรวจมะเร็ง Pre-Cancer Screening เป็นการใช้ EDIM เทคโนโลยี คือการตรวจตัวอย่างเลือดเพื่อหาเซลล์เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็ง โดยใช้แอนติเจนที่จำเพาะต่อเซลล์ภูมิคุ้มกัน ตรวจสอบความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัย

Pre-Cancer Screening แปลผลตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมัน ตรวจวัดระดับความผิดปกติ ในช่วงก่อนที่จะกลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง

เมื่อตรวจเจอ ก็มีโอกาสสูงที่จะควบคุมและป้องกันไม่ให้พัฒนาไปเป็นเนื้อร้าย เพราะยังอยู่ในช่วงกลับไปเป็นปกติได้ มีความไวและความจำเพาะสูงมากกว่า 95% ในการตรวจหาการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง

จุดเด่นของการตรวจ Pre-Cancer Screening

  1. สามารถตรวจวัดระดับความผิดปกติ ในช่วงก่อนที่จะกลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งได้ ความผิดปกติระดับนี้มีโอกาสสูงที่จะสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้พัฒนาไปเป็นเนื้อร้าย เพราะยังอยู่ในช่วงที่ย้อนกลับไปเป็นปกติได้ ทำได้โดยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้เข้าไปจัดการกับเซลล์ผิดปกติ
  2. ประเมินโอกาสการเกิดเนื้องอกและมะเร็งชนิดก้อนในร่างกาย กว่า 50 ชนิด รวมถึงมะเร็งที่ตรวจเลือดด้วยแลปอื่นไม่ได้ เช่น เนื้องอกหรือมะเร็งที่สมอง
  3. มีความไว้และความจำเพาะสูง > 95% ในการตรวจหาการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง
  4. เหมาะสำหรับการตรวจสุขภาพประจาปีทั่วไป ปีละครั้ง
  5. สำหรับผู้ที่เป็นเนื้องอกหรือมะเร็งชนิดก้อน อยู่ในระหว่างการรักษา สามารถตรวจเพื่อประเมินการตอบสนอง ต่อการรักษาและติดตามพัฒนาการของเนื้องอกหรือมะเร็งได้ **กรณีที่ใช้การแพทย์ทางเลือกในการรักษาและดูแลสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง โดยการใช้อาหารเสริม ก็สามารถใช้การตรวจนี้ในการติดตามพัฒนาการของเนื้องอกหรือมะเร็งหลังการใช้อาหารเสริม เป็นต้น
  6. สำหรับผู้รักษาหายแล้ว สามารถใช้การตรวจนี้ ติดตามการเกิดใหม่ของเนื้อร้าย ช่วยในการเฝ้าระวังการเกิดซ้ำ
  7. วิธีการตรวจ ใช้เลือดที่เจาะจากเส้นเลือดที่แขน 2.7 มิลลิลิตร โดยไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำ



การตรวจมะเร็ง Pre-Cancer Screening เหมาะสำหรับ
Screening Test : เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพดี ต้องการตรวจหาความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งประจำปี
Monitoring Test : ตรวจเพื่อดูผลระหว่างทำการรักษา และการบำบัดต่างๆในขณะป่วยโรคมะเร็ง
Surveillance Test : เป็นการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเกิดซ้ำของโรคมะเร็ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่แพทย์วินิจฉัยว่าหายขาดจากโรคแล้ว หรือมีประวัติการรักษามาก่อน

📄 รายชื่อของมะเร็งชนิดก้อนที่สามารถตรวจได้
มะเร็งสมอง
1. มะเร็งสมอง ชนิด Astrocytoma
2. มะเร็งสมอง ชนิด Pons Glioma
3. มะเร็งสมอง ชนิด Ependymoma
4. มะเร็งสมอง ชนิด Glioblastoma
5. มะเร็งสมอง ชนิด Medulloblastoma

มะเร็งเต้านม
6. มะเร็งเต้านม ชนิด squamous cell carcinoma
7. มะเร็งเต้านม ชนิด ER Positive
8. มะเร็งเต้านม ชนิด HER2 positive
9. มะเร็งเต้านม ชนิด PR Positive
10. มะเร็งเต้านม ชนิด Triple negative
11. มะเร็งเต้านม ชนิด Ductal carcinoma

มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
12. มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ชนิด ESCC
13. มะเร็งกระเพาะอาหาร
14. มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ชนิด Gastroesophageal junction
15. มะเร็งท่อนํ้าดี
16. มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ชนิด Cholangiocarcinoma
17. มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
18. มะเร็งลำไส้
19. มะเร็งทวารหนัก
20. มะเร็งลำไส้ชนิด Non-metastatic rectal adenocarcinoma

มะเร็งในระบบสืบพันธุ์
21. มะเร็งรังไข่
22. มะเร็งชนิด Granulosa
23. มะเร็งมดลูก
24. มะเร็งปากมดลูก
25. มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
26. มะเร็งในเยื่อบุช่องคลอดชนิด SIN I – III
27. มะเร็งช่องคลอด
28. มะเร็งปากช่องคลอด

มะเร็งต่อมลูกหมาก
29. มะเร็งต่อมลูกหมาก ชนิด PSA Positive
30. มะเร็งต่อมลูกหมาก ชนิด PSMA Positive
31. มะเร็งต่อมลูกหมาก ชนิด squamous cell carcinoma

มะเร็งของศีรษะและลำคอ
32. มะเร็งหลังโพรงจมูก
33. มะเร็ง ชนิด Hyperplasia
34. มะเร็งในช่องปาก

มะเร็งปอด
35. มะเร็งหลอดลม
36. มะเร็งปอด ชนิด Small Cell
37. มะเร็งปอด ชนิด Non-Small Cell
38. มะเร็งเนื้อเยื่อปอด

มะเร็งของระบบทางเดินปัสสาวะ
39. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
40. มะเร็งกรวยไต
41. มะเร็งทางเดินปัสสาวะ ชนิด Squamous cell carcinoma
42. มะเร็งไต ชนิด Renal cell carcinoma
43. เนื้องอก ชนิด Wilms / Nephroblastoma

มะเร็งชนิดอื่นๆ
44. มะเร็งต่อมอะดีโนคาร์ซิโนมา
45. มะเร็ง Aerodigestive
46. มะเร็ง Rhabdomyosarcoma
47. มะเร็งไทรอยด์
48. เนื้องอก Malignant conjunctival
49. เนื้องอกมะเร็งลูกตา ชนิด Adnexal
50. เนื้องอกมะเร็งต่อมนํ้าเหลือง
51. เนื้องอกมะเร็ง เมลาโนมา

การตรวจมะเร็ง Pre-Cancer Screening เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน โดยจะมีค่าเฉลี่ยมาตรฐานเป็นตัวกำหนดความเสี่ยง หากพบความเสี่ยงเกินจากมาตราฐานเล็กน้อยก็ต้องปรับพฤติกรรมหรือรักษาตามคำแนะนำของแพทย์

ทำให้สามารถระมัดระวังสุขภาพได้เร็วกว่า ก็มีโอกาสกลับมาสุขภาพแข็งแรงได้ง่ายกว่า หากพบความเสี่ยงสูงก็ทำให้เราได้วางแผนในการตรวจเพิ่มเติมได้ดี รวมไปถึงมีเวลาวางแผนในการรักษามากขึ้น

 
Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping
0