Article

Stem Cell Therapy

Stem Cell Therapy

นพ.พลวัฒน์ปรีชาบริสุทธิ์กุล M.D. Preventive medicine, ABAARM, CNW, MSc

ปัจจุบันคงมีน้อยคนมากที่ไม่เคยได้ยินการรักษาด้วย Stem Cell  ย้อนกลับไปสัก 10-20 ปีก่อนในประเทศไทยยังไม่คุ้นเคยกับการรักษาด้วยเซลล์บำบัด แต่ในต่างประเทศนั้นมีการรักษาด้วยวิธีการนี้มานานแล้ว ซึ่งผลการรักษาก็ทำให้คนไข้หลายคนอาการดีขึ้นได้ แต่ถึงอย่างนั้นผลการรักษาไปจนถึงแนวทางการรักษาก็ยังคงไม่ชัดเจนนัก   การวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับประโยชน์ของการบำบัดด้วยเซลล์ได้เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การรักษาที่หวังผลได้ดีที่สุด ได้แก่ การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell)  และการรักษาด้วย PRP เพื่อการบรรเทาอาการปวดเรื้อรังและการบาดเจ็บที่ยากต่อการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาหรือการผ่าตัด นอกจากนี้ นักวิจัยยังค้นพบวิธีการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดสำหรับภาวะเรื้อรังที่พบบ่อย เช่น โรคหัวใจโรค ความเสื่อมของระบบประสาท และโรคเบาหวาน

การบำบัดด้วยเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถหวังผลการรักษาได้นั้น อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ 

  • อาการปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis Knee Pain)
  • เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ (Tennis Elbow)
  • อาการปวดไหล่ (Shoulder Pains or Rotator Cuff Injuries)
  • เอ็นอักเสบ การบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย (Achilles Tendon Injuries) และเส้นเอ็นที่หัวเข่า (ACL Injuries)
  • ปัจจุบันพบว่ามีประโยชน์ในโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดอุดตัน (Atherosclerosis)  

Stem Cell Therapy คืออะไร?

การบำบัดด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเป็นวิธีการรักษาประเภทหนึ่งที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดชนิด MSC หรือ Mesenchymal Stem Cells โดยเป็นของผู้ป่วยเอง หรือเซลล์ต้นกำเนิดจากรก เพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย ซ่อมแซมการบาดเจ็บ เพิ่มการฟื้นฟูความเสื่อมของร่างกาย โดยปกติจะดำเนินการรักษาด้วยการฉีดเฉพาะที่ หรือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ด้วยคุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแบ่งตัวได้ไม่มีขีดจำกัดและมี Growth Factor มากมายจึงสามารถส่งสัญญาณไปกระตุ้นเซลล์ในร่างกายให้แบ่งตัวซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายได้ ทำให้การรักษาโดยเซลล์ต้นกำเนิดนั้นไม่ถูกจำกัดเฉพาะผู้ที่ป่วยเพียงกลุ่มเดียว ในคนที่ต้องการป้องกันหรือฟื้นฟูความเสื่อมของร่างกายก็สามารถคิดถึงการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้เช่นกัน

คุณสมบัติเบื้องต้นของเซลล์ต้นกำเนิด:

  • เร่งระยะเวลาในการฟื้นตัวให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เร็วที่สุด
  • ลดอาการปวด แม้กระทั่งอาการปวดข้อเรื้อรัง ทำให้ไม่ต้องใช้ยาเกินความจำเป็นหรือไม่ต้องใช้ยาเลย
  • เพิ่มสมรรถภาพในการทำงาน การเคลื่อนไหวและ ความยืดหยุ่น ของกล้ามเนื้อ
  • ลดการชดเชยกล้ามเนื้อและความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในอนาคต
  • เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ
  • ลดความเสียหายของเส้นประสาท และหลอดเลือด
  • ช่วยสร้างเนื้อเยื่อหัวใจและหลอดเลือดใหม่
  • ช่วยเพิ่มคอลลาเจนและสมานแผลที่ผิวหนัง  ป้องกันการก่อตัวของเนื้อเยื่อแผลเป็น
  • ลดการหลุดร่วงของเส้นผม

การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดได้รับการพูดถึงในวงกว้าง เนื่องจากความสามารถที่น่าอัศจรรย์ของในการทดแทนเซลล์ใหม่ ทำให้การรักษานี้ถูกนำมาใช้ (หรือได้รับการวิจัยอย่างต่อเนื่อง) ในการรักษา:

  • การบาดเจ็บทางกระดูก และปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเข่าเสื่อม
  • บาดแผลหลังการผ่าตัด
  • การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง Spinal Cord Injury และการตีบของกระดูกสันหลัง Spinal Stenosis
  • การบาดเจ็บของสมอง Brain Injury
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงความดันโลหิตสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ (Atherosclerosis) โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และภาวะหัวใจล้มเหลว 
  • โรคเบาหวานและความผิดปกติของตับอ่อนอื่น ๆ
  • โรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน  โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม และอัลไซเมอร์
  • โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน และ ภูมิคุ้มกันโจมตีตนเอง (Autoimmune Disease) เช่น SLE, สะเก็ดเงิน 
  • ผมร่วง

แม้การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดจะมีแนวโน้มในการหวังผลทางการรักษามากมาย  แต่แผนการรักษานั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และจะต้องถูกเตรียมอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เพื่อให้มีโอกาสได้ผลการรักษามากที่สุด  แม้ปัจจุบันการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดนั้นจะมีความปลอดภัย แต่เช่นเดียวกับการรักษาทุกประเภทที่มีข้อดีแต่ก็ยังสามารถมีผลข้างเคียงได้  ซึ่งก่อนจะทำการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดนั้น แพทย์จะทำการประเมิน คัดกรอง และช่วยเตรียมตัวเพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงนั่นเอง  โดยจะมีการตรวจร่างกาย การเจาะเลือดเพื่อประเมินสภาวะต่างๆ อาจมีการพิจารณาให้วิตามินหรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำ (IV Nutrition Therapy) หรือการกระตุ้นการขับสารพิษของร่างกาย (Detoxification) ตามความจำเป็นและความเหมาะสม ซึ่งหากเป็นการรักษาด้วยการให้ทางหลอดเลือดดำทีมแพทย์ยังคงต้องให้ความระมัดระวังเรื่องอาการแพ้แม้ว่าจะมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก อาจพบอาการปวดศีรษะหรือมึนศีรษะหลังทำได้บ้าง ซึ่งหลังจบการรักษาจะมีการสังเกตอาการอย่างน้อย 30-60 นาที  ส่วนการฉีดรักษาเฉพาะที่นั้นไม่ค่อยเกิดอาหารแพ้ แต่อาจจะพบอาการบวม แดงหลังฉีดได้ ซึ่งอาการจะดีขึ้นใน  3-4 วันขึ้นกับปริมาณ ตำแหน่งและความรุนแรงของอาการ  หลังจากทำการรักษาจะมีการติดตามอาการจากทีมแพทย์อย่างต่อเนื่อง โดยผลของการรักษาจะอยู่ได้นานเท่าใดนั้น โดยมากขึ้นอยู่กับการดูแลร่างกายของแต่ละบุคคล  ซึ่งแพทย์จะต้องวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาวร่วมกันกับคนไข้เพื่อให้คงผลของการรักษาได้นานที่สุดก่อนที่จะพิจารณาให้เซลล์ต้นกำเนิดเพิ่มเติมต่อไป

Reference 

Fiona M. Watt, The therapeutic potential of stem cells, Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci. 2010 Jan 12; 365(1537): 155–163.

Jesse K. Biehl, Introduction to Stem Cell Therapy, J Cardiovasc Nurs. 2009 Mar-Apr; 24(2): 98–105.

Nassim Rajabzadeh, Stem cell-based regenerative medicine, Stem Cell Investig. 2019; 6: 19.

Wojciech Zakrzewski, Stem cells: past, present, and future, Stem Cell Res Ther. 2019; 10: 68.

 
Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping
0